มาการอง มีส่วนประกอบหลัก คือ ไข่ขาว
อัลมอนด์บดละเอียดและน้ำตาลป่น
มีลักษณะคล้ายคุกกี้ชิ้นเล็กสองอันประกบกันมีไส้ตรงกลาง มีสีสันสดใส กรอบนอกนุ่มใน
สอดไส้ตรงกลางด้วยครีมกานาช (Ganache)
มีหลากหลายรสชาติ เช่น ช็อกโกแลต สตรอเบอร์รี่ วานิลลา กาแฟ
อัลมอนด์ หรือรสผลไม้ตามฤดูกาล เป็นต้น และมักนิยมทานคู่กับชาหรือกาแฟ วันนี้จึงขอนำเสนอสูตรที่มาจากต่างประเทศให้ได้ลองฝีมือกัน
ใครถนัดการชั่งตวงแบบไหนก็เลือกได้ตามใจชอบ
ส่วนผสมของตัวขนม
อัลมอนด์ป่นผง
138 กรัม ( 2/3 cup almond meal or ground
almonds )
น้ำตาลทรายป่นละเอียด 76
กรัม ( 1 1/2 cups powdered sugar )
ไข่ขาว 115 กรัม ที่แยกทิ้งไว้สักสามวันแล้ว ( 3 large
egg whites at room temperature and preferably aged up to 3
days )
น้ำตาลไอซิ่ง
207 กรัม ( 5 tablespoons granulated sugar )
วานิลา
1 ช้อนชา ( 1
teaspoon vanilla extract )
ผงโกโก้
25 กรัม ( Cocoa powder 25
gms. )
วิธีทำตัวขนม
นำอัลมอนด์ผง น้ำตาลไอซิ่ง ผงโกโก้ ปั่นรวมกันให้ละเอียดอีกครั้ง
ถ้าเครื่องบดดีๆใช้เวลาไม่ถึง 10 วินาที อย่าบดนานเพราะอัลมอนต์
จะก่อให้เกิดมีน้ำมันออกมา
นำมาร่อนอีกครั้งด้วยกระชอนไม่ให้มีเศษชิ้นใหญ่หลงเหลืออยู่
ตีไข่ขาวพอเป็นฟองหยาบๆด้วยความเร็วปานกลาง
จากนั้นทยอยใส่น้ำตาลทรายป่น ละเอียดจนหมด
ตีจนได้เนื้อครีมตั้งยอดเกือบแข็งและเป็นเงา
เอาส่วนของแห้งจากข้อ 1 เทใส่ลงในเนื้อครีมไข่ขาว
ตะล่อมเร็วๆ พอเข้ากัน เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว
คราวนี้ให้กลับเนื้อขนมจากข้างล่างขึ้นข้างบนโดยใช้ที่ปาดเค้ก
คนเป็นวงกลมช้อนจากก้นขึ้นมาด้านบน
วนตามเข็มนาฬิกาอย่างเบาๆ
เทครีมในข้อ 3 ใส่ถุงบีบ ใช้หัวบีบเบอร์ 12
บีบออกมาเป็นชิ้นกลมๆ เวลาบีบอย่าให้ปลายที่บีบห่างจากแผ่นรองอบมากนัก ( นับ 1 2 3
ในใจแล้วยกขึ้นจะได้ชิ้นบีบที่เท่าๆกัน )
บีบเป็นชิ้นกลมๆ ให้ห่างๆกันพอควร จนเต็มแผ่นรองอบ
จับแผ่นรองเคาะเบาสักสองสามครั้งเพื่อไล่ฟองอากาศ
พักให้ผิวขนมแห้งประมาณ 30 นาที
ลองเช็คดูโดยแตะแล้วไม่เหนียวติดมือ
นำเข้าเตาอบ ( ไฟ บน- ล่าง มีพัดลม ) ความร้อน 150 องศาเซลเซียส นาน 10 -13 นาที แล้วแต่ขนาดเตาอบ กรณีที่ทำขนมสีอ่อน
เมื่ออบไปได้ 7 นาที ให้เอาถาดอบอีกใบบังความร้อนด้านบน จากนั้นจึงอบต่อ อีก 3
นาที แล้วให้เปิดเตาอบ 1
ครั้งเพื่อไล่ความชื้นออกหรือจะใช้วิธีเอาไม้พายขัดเพื่อแง้ม ประตูเตาอบไว้ก็ได้
เมื่ออบเสร็จแล้วนำออกมาวางบนตะแกรง
รอซักพักค่อยแกะออกจากแผ่นรองอบ ถ้าตัวเปลือกสุกจะแกะออกได้ง่าย
วางรอใส่ไส้ตรงกลาง
รูปลักษณะของตัวขนมมาการองนั้นเข้าตำรานางงามเลยทีเดียวเข้าทำนอง
สวยทั้งรูป จูบก็หอม
เริ่มจากลักษณะภายนอกต้องมีผิวเนียนและเงางามเหมือนเปลือกไข่ไม่มีริ้วรอยแตกร้าว
ถ้าผิวไม่เรียบเป็นปุ่มปมแสดงว่า
การบดและร่อนแป้งกับผงอัลมอนด์ยังไม่ดีพอหรือถ้าตัวมาการอง
มียอดแหลมเป็นจุกที่เกิดจากการบีบแสดงว่าการผสมแป้งนั้นยังไม่ได้ที่
เมื่อมองจากด้านข้างของตัวขนม ผิวขนมด้านบนจะค่อนข้างแบนไม่โค้งนูนสวย
ส่วนตัวขนมด้านที่ติดกับไส้ครีมตรงส่วนล่างสุดของคุกกี้ทั้งสองชิ้นที่มาประกบกันนั้น
เรียกว่า “ เท้า หรือ กระโปรง ” ของมาการอง
ต้องมีลักษณะเป็นเนื้อฟูพองเหมือนระบาย มีความสูงพอๆกัน
แต่ไม่ควรจะสูงมากกว่าส่วนที่เป็นเนื้อเนียน
และไม่ควรจะแผ่ส่วนที่เนียนออกมามากเพราะนั่นแสดงว่าอุณหภูมิในการอบไม่พอเหมาะ สุดท้ายคือ
สีของขนมมาการองต้องเป็นสีเดียวกันทั้งชิ้น
ไม่มีลักษณะที่โดนความร้อนเลียจนซีดหรือไหม้
ส่วนผสมของไส้รส Chocolate Ganache
นมจืด
4 ออนซ์
ผงช็อคโกแลต
5 ออนซ์
เนยสด 2 ¼ ออนซ์
น้ำเชื่อม
Corn
Syrup 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำไส้รส
Chocolate
Ganache
ต้มนมในหม้อเคลือบพอเดือด
ใส่ผงช็อคโกแลตลงไปค่อยๆคนให้ละลาย เติมน้ำ Corn Syrup แล้วตามด้วยเนย
จากนั้นคนให้ละลายเข้ากันดี นำไปแช่ให้เย็นประมาณ ½ ชั่วโมง ก่อนนำมาใช้งาน
ตักไส้ครีมนี้ใส่ถุงบีบใช้หัวบีบขนาดพอเหมาะ
บีบใส่ตรงกลางขนมแล้วประกบทั้งสองชิ้นเข้าด้วยกันอย่างเบาๆมือ
ให้ทั้งสองชิ้นติดกัน ปริมาณไส้มากน้อยแล้วแต่ชอบ
มาการองมักจะสอดไส้ด้วยครีมรสช็อกโกแลตเพราะฉะนั้นเวลารับประทานจึงมักต้องอยู่ในห้องที่มีอุณหภูมิห้องประมาณ
20
– 25 องศาเซลเซียส คือ
นำออกมาจากตู้เย็นมาตั้งไว้ประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชม.
ความรู้สึกเมื่อกัดเข้าไปแล้วจะสัมผัสได้ถึงความกรุบกรอบเฉพาะผิวส่วนเนื้อข้างในจะมีความนุ่มคล้ายประมาณว่าละลายในปาก
ไม่ใช่ความรู้สึกเหนียวหนึบหรือแข็งกระด้าง
เนื้อขนมจะต้องเต็มไม่มีโพรงอากาศอยู่ระหว่างเปลือกกับฐาน
ส่วนรสชาติของไส้นั้นแล้วแต่คนชอบ
จะเห็นได้ว่าการจะทำมาหารองได้ดีนั้นต้องอาศัยความใจเย็นและฝีมือไม่น้อย
ทำให้เข้าใจเลยว่าเหตุใด ราคาขายของมาการองถึงแพง
เพราะกว่าจะทำสำเร็จต้องมีความใส่ใจในทุกขั้นตอนจริงๆ
แต่เมื่อทำได้สำเร็จแล้วคงเป็นความภูมิใจและน่าจะทำเป็นอาชีพเสริมให้กับใครหลายคนที่ชื่นชอบการทำขนมอบแบบยากๆได้
ขอขอบคุณข้อมูลจากsites.google.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น